วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การเซตค่า Jumper ให้กับฮาร์ดดิสก์ทำอย่างไร

ก่อนทำการเซตค่า Jumper ท่านต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าของการตั้งค่าก่อน ซึ่งโดยปกติ การเซตค่า
Jumper จะมีการเซตทั้งหมด 4 แบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการเซตค่าติดไว้ที่ตัวฮาร์ดดิสก์ด้วย หรือถ้าท่าน
ไม่แน่ใจท่าน สามารถตั้งค่าตามข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลยครับ ซึ่งจะบอกตามอักษรย่อที่ติดอยู่กับฮาร์ดดิสก์ดังนี้ครับ

1.Master(MA) = เป็นการเซตค่าให้ตัวฮาร์ดดิสก์เป็นตัวที่ 1 ใช้ในกรณีที่ท่านมีฮาร์ดดิสก์ ตัวเีดียวหรือ 2 ตัว และให้ใน
กรณีที่่ท่านใช้สายแพของฮาร์ดดิสก์ร่วมกับซีดีรอม ท่านควรเซตค่าให้ฮาร์ดดิสก์เป็น MA และให้ซีดีรอมเป็น
SL ถ้าท่านมีฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวท่านควรเซตค่าเป็น MA ให้กับฮาร์ดดิส์ที่มีระบบปฏิบัติการ ส่วนฮาร์ดดิสก์ที่
ไม่มีระบบปฏิบัติการให้เซตค่าเป็น SL เนื่องด้วยเมื่อท่านเปิดเครื่องระบบจะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่เป็น
MA ก่อนเสมอ เมื่อท่านได้ทำการกำหนดเรียบร้อยแล้วท่านควรเข้าไปเซ็คค่าใน Bios อีกครั้งเพื่อความถูกต้อง
2.SLAVE(SL) = เป็นการเซตค่าให้ตัวฮาร์ดดิสก์เป็นตัวที่ 2 ใช้ในกรณีที่ท่านมีฮาร์ดดืสก์ 2 ตัวซึ่งการเซตค่านี้ต้องเซตให้กับ
ฮาร์ดดิสก์ที่ไม่มีระบบปฏบัติการ หรือฮาร์ดดิสที่ท่านต้องการให้เป็นตัวเก็บข้อมุล เพราะถ้าท่านต้องการให้ Run
ระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสตัวใดท่านควรเซตค่าฮาร์ดดิสก์ตัวนั้นเป็น MA
3.Cable Select(CS) = เป็นการเซตค่าให้ระบบเลือกเองว่าจะให้ฮาร์ดดิสตัวที่เซตค่า Jumper แบบนี้ เป็น MA หรือ SL ซึ่ง
ท่านสามารถเซตค่าให้เป็น CS ได้เมื่อท่านไม่แน่ใจว่าควรจะให้ฮาร์ดดิสก์ตัวนั้นๆเป็น MA หรือ SL ดี
4. Setting = เป็นการเซตค่าให้กับฮาร์ดดิสก์ในกรณืที่ท่านทำการเซตระบบให้กับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งฮาร์ดดิสก์บางรุ่นบางยี่ห้อ
ก็จะให้ทำการเซต Jumper ให้เป็นแบบ Setting เสียก่อนถึงจะสามารถลงระบบปฏิบัติการให้สมบูรณ์ได้

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิค 10 ข้อ ในการเขียน Blog

1. ให้คนอ่านได้รับรู้ถึงความคิดเห็นของคุณ
คนทั่วไปชอบบล็อก เหตุผลก็คือ บล็อกนั้นถูกเขียนขึ้นโดยทั่วไป โดยไม่ใช่บริษัทหรืออะไร คนส่วนใหญ่อยากที่จะรู้ว่าคนอื่นมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร และถ้าจะพูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือ เขาอยากรู้ว่าคุณ (เจ้าของบล็อก) นั้นคิดอย่างไร จงบอกพวกเขาว่าคุณคิดอย่างไร โดยใช้ความยาวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. หาลิงค์มาใส่เยอะๆ
หาอะไรมาสนับสนุนไอเดียของคุณ เช่น เวบอื่นๆ ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเนื้อหาของบล็อกคุณ

3. เขียนให้สั้นเข้าไว้
พยายามเล่าเรื่องให้มันสั้นๆเข้าไว้ เพราะคนส่วนใหญ่ก็มีเวลาน้อย และก็ยุ่งมากอยู่แล้วในแต่ละวัน เขียนเรื่องของคุณให้คนอ่านแว๊บเดียวจบ จะดีทีี่สุด!!

4. ความยาว 250 คำก็เพียงพอ
โพสยาวๆนั้นเข้าถึงคนได้ยากและคนก็ลืมง่าย แต่โพสที่สั้นๆ นั้นจะให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม

5. ทำให้หัวข้อเรื่องมันติดตา จำง่าย
ใส่ใจความสำคัญไว้ที่หัวเรื่อง (subject) ให้มีความกะทัดรัดและจำง่ายไม่คุณก็ลองดูตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์ก็ได้ว่าเขาทำกันอย่างไร

6. ทำออกมาเป็นหัวข้อๆ ให้คนอ่าน
เราทุกคนชอบอ่านอะไรที่เป็นข้อๆอยู่แล้ว เพราะมันทำให้เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน อยู่ใน format ที่อ่านได้ง่ายขึ้น

7. ทำให้โพสของคุณอ่านง่าย
ในทุกย่อหน้าของคุณ พยายามใส่หัวเรื่องย่อยลงไป และก็อย่าพยายามใช้หัวเรื่องที่ยาวเกินไป

8. พยายามคงเส้นคงวากับ Style การเขียนของคุณ
คนส่วนใหญ่ชอบรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หลังจากที่คนอ่านของคุณติดใจใน style คุณแล้วก็อย่าพยายามเปลี่ยนมัน

9. พยายามแทรก Keyword ไว้ในตัวโพสด้วย
พยายามคิดถึงตัว Keyword ที่คนทั่วไป มักจะใช่ในการ search เข้ามาหาโพสของคุณ และพยายามใส่ Keyword เหล่านั้นลงในหัวข้อเรื่อง และตัวโพส
อีกอย่างที่ต้องระวังคือ ต้องพยายามใส่ Keyword เหล่านั้นลงไปให้ดูเป็นธรรมชาติและต้องไม่ให้ดูเยอะเกินความจำเป็น

10. แก้เนื้อหาบ้าง
หลังจากคุณเขียนโพสเสร็จแล้ว ก่อนที่คุณจะทำการกดปุ่ม submit ให้คุณลองย้อนกลับมาอ่านโพสของคุณอีกครั้ง และก็ตัดส่วนที่คุณคิดว่า ไม่จำเป็นออกไป หรืออะไรก็ตามที่ไม่น่าจะเอาไว้